วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วัน/เดือน/ปี  27/กย/56
เรียนครั้งที่ 16  เวลาเรียน 13:10-16:40
เวลาเข้าเรียน  13:10  เวลาเลิกเรียน  16:40


ในวันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้าย  อาจารย์ให้เขียนความรู้ที่ได้รับ




ขอคุณอาจารย์ที่มอบความรู้ดีๆให้กับพวกหนู เทอมหน้าเจอกันใหม่คะ
อาจารย์น่ารักมาก


วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

วัน/เดือน/ปี  20/ กย/ 56
เรียนครั้งที่ 15  เวลาเรียน 13:10 - 16:40
เวลาเข้าเรียน 13:10 เวลาเลิกเรียน 16:40


ในวันนี้ได้เรียนวิธีการเขียนแผนการสอน  แล้วแบ่งกลุ่มทำแผนการสอนกัน
กลุ่มหนูได้ลงความเห็นกันว่าทำวัฏจักรของผีเสื้อ






  

กว่าจะออกมาเป็นชิ้นงาน  เราก็ร่วมมือทำกันอย่างตั้งใจ








วินาทีที่หน้าสนใจของสื่อการสอนก็คือการนำเสนองานนี่แหละจร้า














วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วัน  เดือน  ปี  13 ก.ย.  56
ครั้งที่14  เวลาเรียน  13:10 - 16:40
เวลาเข้าสอน  13:10  เวลาเลิกเรียน  16:40



ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ให้จัดมุมในห้องเรียนโดยแบ่งเป็นกลุ่มทั่งหมด 7 กลุ่ม 

นี่คือผลงานของพวกหนูค่ะ



                 อาจจะมีหลายคมมองผลงานนี้มันไม่ดี  แต่อยากจะบอกว่าพวกหนูพยายามแล้วถึงแม้ว่าภาพที่วาดมันจะไม่สวยแต่เชื่อว่าเมื่อมันเป็นมุมจริงๆมันสื่อความหมายได้ดีแน่  อย่าได้มองดูแค่ภาพที่คุณเห็นควรมองให้ถึงความสำคัญของผลงานที่เกิดขึ้น  ขอบคุณค่ะ


วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วัน เดือน ปี  6 กย 56
ครั้งที่ 13  เวลาเรียน  13:10 -16:40
เวลาเข้าสอน  13:10  เวลาเลิกเรียน  16:40
          การจัดมุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้และทักษะทางภาษา
- มุมหนังสือ
- มุมบทบาทสมมุติ
- มุมศิลปะ
- มุมดนตรี

ลักษณะการจัดมุมในห้องเรียน
-  มีพื้นที่ให้เด็กได้ทำกิจกรรม
-  เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
-  บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณืเครื่องเขียน
-  เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผนออกแบบ




           



          เป็นครูต้องลายมือสวย เริ่มต้นด้วยการคัดเลยมือ  ถึงแม้จะต้องมาแก้สองตัวแต่สุดท้ายก็ผ่านไปด้วยดี

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่  12
วัน/เดือน/ปี  30 /ส.ค/2556
ครั้งที่12  เวลาเรียน 13.10-16.40
 เวลาเข้าเรียน 13.10  เวลาเลิกเรียน 16.40
 
 
                 วันนี้อาจารย์ให้ทำสื่อการสอนเกี่ยวกับภาษา
 
 
 
          
 
 
        กลุ่มหนูเลือกที่ทำเกมการศึกษาทางภาษา 
ชื่อเกม ทายสิ...ฉันกินอะไร  เพราะเกมนี้ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็ก  และช่วยเสริมความคิด 

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วัน/เดือน/ปี   23/ส.ค/2556
ครั้งที่ 11  เวลาเรียน 13.10-16.40



เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน 13.10  เวลาเลิกเรียน 16.40
            สื่อการเรียนรู้ทางภาษา
     คือ  เครื่องมือที่สร้างขึ้นมาให้เหมาะสมกับตัวเด็ก คือการที่เรียนรู้จากประสาทสัมผัส จับต้องได้หรือของจริง เพราะเด็กในวัยนี้เข้าใจในรูปธรรมจะทำให้เข้าใจง่ายและจำได้นาน
      ประเภทของสื่อการสอน
- สื่อสิ่งพิมพ์  สิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับการพิมพ์  เช่น นิทาน หนังสือพิมพ์
- สื่อวัสดุอุปกรณ์  สิ่งของต่างๆที่เป็นของจริงหรือหุ่นจำลอง
- สื่อโสตทัศนูปกรณ์ สิ่งที่นำเสนอผ่านเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ
- สื่อกิจกรรม ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ  การเผชิญ  สถานการณ์นั้นๆ
- สื่อบริบท ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
 



ก้านกล้วยจ๋า

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่10

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10


วัน เดือน ปี 16 สค 56
ครั้งที่เรียน 10 เวลาเรียน 13:10 - 16:40
เวลาเข้าเรียน  13:10  เวลาเลิกเรียน  14:40

ผลิตสื่อการเรียนนการสอนเกี่ยวกับอาเซียนน  โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม

                                                                  
                                                         แต่ล่ะกลุ่มตั้งใจกันทำมากเลย





                                                     
                                                        








เก่งกันจริงว่าที่ครูอนุบาล
                                              


วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วัน/เดือน/ปี  09 /ส.ค/2556
ครั้งที่9  เวลาเรียน 13.10-16.40
 เวลาเข้าเรียน 13.10  เวลาเลิกเรียน 16.40
 
                 ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันแต่งนิทานซึ่งมีชื่อว่า "บทเรียนของกระต่าย"  แล้วได้แบ่งกลุ่มกันแต่ละกลุ่มเพื่อที่จะวาดรูปที่ได้มอบหมาย
 

ภาพนี้พวกหนูวาดกับมือเลยค่ะ
 

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน 8

วันที่ 2 สิงหาคา 2556

วันนี้ไม่มีการเรียน สอบกลางภาค

บันทึกอนุทิน7

วัน/เดือน/ปี   26/ก.ค/2556
ครั้งที่7  เวลาเรียน 13.10-16.40
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน 13.10  เวลาเลิกเรียน 16.40

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น

การประเมิน

1.ใช้เครื่องมือในการประเมินหลายแบบ ทำให้ได้ข้อมูลหลายหลายแม่นยำมีความเที่ยง มากกว่าใช้แบบประเมินแผ่นเดียว

2.เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก บันทึกในสิ่งที่เด็กทำโดยจะไม่ประเมินในสิ่งที่เด็กทำไม่ได้ แต่จะดูสิ่งที่เด็กทำได้ ดูขั้นตอน จะทำให้สามารถส่งเสริมให้เด็กพัฒนาสู่ระดับสูงขึ้นได้

3.ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย ดูหลายๆแบบ เด็กบางคนอาจมีด้านที่เก่งเด่นชัด แต่ไม่ได้หมายความว่าด้านอื่นๆจะเก่ง เป็นต้น

4.ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง ครูควรเอาผลงานเด็กมาติดเพื่อให้เด็กเห็นผลงานตนเอง

5.ให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน  ครูที่ดีต้องดูกระบวนการคิดของเด็กแต่ละคนด้วย เพราะเด็กแต่ละคนคิดแตกต่างกัน 

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน  6

 
วัน/เดือน/ปี 19 ..2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10-16.40
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40

การจัดประสบการทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา
ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในการสร้างหนังสือสำหรับเด็ก การอ่านคำกลอนให้เด็กฟังเป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมนำมาใช้กับเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เพราะคำกลอนเป็นสื่อที่เด็กคุ้นเคย ให้ความสนุกสนานและความรู้ เด็กสามารถเก็บความจากเรื่องที่ฟังได้สมควรแก่วัย
                ธรรมชาติของเด็กปมวัย
         ๑.        เด็กปฐมวัยไม่ชอบอยู่นิ่ง มีความต้องการและความรู้สึกเหมือนผู้ใหญ่
         .    มีความสนใจเพียงระยะสั้นๆเท่านั้น
  ๓.     มีความเป็นตัวของตัวเอง
  ๔.     แสดงออกทางอารมณ์เปิดเผย รู้สึกอย่างไรก็แสดงออกมาอย่างนั้น
  ๕.     สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
  ๖.      เจ็บป่วยง่าย                                                                
  ๗.     จดจำในทุกสิ่งที่เห็นและกล้าแสดงออก

       การสอนภาษาธรรมชาติ

การที่เด็กได้เรียนรู้การใช้ภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน เขียนไปตามธรรมชาติ อย่างมีความหมาย สอดคล้องเหมาะสมกับวัย โดยไม่แยกว่าต้องอ่านก่อน หรือเขียนก่อน แต่จะเน้นให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง เช่น อ่านนิทาน เล่าเรื่องราว ฟังนิทานที่ครูหรือเพื่อนเล่า เขียนคำที่ตนสนใจจากเรื่องที่ได้อ่านหรือได้ฟัง


วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


บันทึกอนุทิน  5
วัน/เดือน/ปี 12 ..2556

 ครั้งที่1 เวลาเรียน 13.10-16.40

 เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40

 
เข้าห้องไปอาจารย์ให้วาดสิ่งที่ประทับใจในสมัยเด็ก  หนูวาดกระปุ๊กออมสิน

 (ภาพติดไว้ก่อนนะแล้วจะถ่ายมาให้ดู)

 

1.Phonology

คือระบบเสียงของภาษา

เสียงที่มนุษย์แปลงออกมาแล้วมีความหมาย

หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำของภาษา

                2.Semantic

คือความหมายของภาษาและคำศัพท์

คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย

ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน

                3. Syntax

คือระบบไวยากรณ์

การเรียงรูปประโยค

                4. Pragmatic

คือระบบการนำไปใช้

ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ

               

1.แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner

- สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา

-ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง

John B.  Watson

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

- การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก  เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้  และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม

               

                นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า

-                   ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์

-                   การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม

-                   เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา

-                   เด็กจะสังเกตและเรียนแบบพฤติกรรม เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว

-                   เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้ได้เรียนแบบตัวแบบมากขึ้น

 

2.แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา

Piaget

เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก

Vygotsky

เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

สังคม  บุคคลรอบข้าง  มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

เน้นบทบาทของผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่ควรช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก

                                3.แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมของร่างกาย

Arnold  Gesell

เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา

ความพร้อม  วุฒิภาวะของเด็กแต่ล่ะคนไม่เท่ากัน

เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางด้านร่างกายใช้ภาษาได้เร็ว

เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารพร่อง

 

แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา

-                   เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

-                   นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน

 

Richard  and  Rodger  (1995) ได้แบ่งมุมมองต่อ

ภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม

1.             มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา

-                   นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย

-                   เสียง  ไวยากรณ์  การประกอบคำเป็นวลีหรืประโยค

 

2.             มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา

-                   เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย

-                   การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย

-                   ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรืไวยากรณ์

 

3.             มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์

-                   เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ในสังคม

-                   การแลกเปลี่ยนประสบการณ์

-                   เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา

    

 

 

 

 

 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน  4

 
วัน/เดือน/ปี 5 ..2556

 
ครั้งที่1 เวลาเรียน 13.10-16.40

 
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40

วันนี้ให้แต่งล่ะกลุ่มออกมานำเสนองาน

 
กลุ่มที่ 1 ความหมายของภาษา 

ภาษา  หมายถึง  สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือ สื่อความคิด  ความรู้  ความรู้สึก

                ความสำคัญของภาษา  เป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจ

 
กลุ่มที่ 2 แนวคิดทางภาษา

 Chomsk  ภาษามีลักษณะพิเศษจะส่งการเรียนรู้ คือ  แรงจูงใจ

                เพียเจ  เกิดการเรียนรู้ได้โดยผ่านการเล่น

                จอห์น  ดิวอี้  การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากประสบการณ์ตรง  ลงมือเอง

                ไวกอตสกี้  เรียนรู้ภาษา สิ่งแวดล้อม  กิจกรรม  การลงมือ

                ออลลิเดย์  สภาพแวดล้อมรอบๆ  จะส่งผลต่อการพัฒนาการทางภาษา

                กู๊ดแมน  เด็กลงมือปฏิบัติจริง  ใช้ภาษาสำหรับการร่วมกิจกรรมทำให้เกิดการเรียนรู้และจะพัฒนาภาษา

 

กลุ่มที่ 3 เด็กแรกเกิด 0-2 ขวบ

                ภาไม่ใช่การท่องหรือเป็นคำศัพท์อย่างเดียว  แต่หมายถึงการสื่อสารกับคนรอบข้างซึ่งสำคัญมากมีปฏิกิริยาโต้ตอบ ซึ่งเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิด – 2 ปี  อาจพูดไม่ค่อยได้  ซึ่งเราต้องมีการสื่อสารบ่อยๆ เขาจะจดจำแล้วเกิดประสบการณ์

 
กลุ่มที่ 4  พัฒนาการด้านสติปัญญา 2 4 ปี

                ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว  ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกาย  ให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ  เด็กสามารถแก้ไขปัญหาได้แม้ไม่สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้

 
กลุ่มที่ 5 พัฒนาการเด็ก 4 -6 ปี

                เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่มีการเรียนรู้และการสังเกตจะดีมาก  เด็กสามารถบอกชื่อได้  ชอบถามว่าทำไม  อย่างไร  แต่จะเข้าใจคำถามง่ายๆ  ชอบเล่าเรื่องราวต่างๆ  และมักสนใจในคำพูดของผู้ใหญ่

 
กลุ่มที่ 6 แนวคิดทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้

                เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่  เด็กกล้าที่จะตอบคำถาม  เด็กรู้จักเรียนแบบสิ่งที่ชอบ  เรียนรู้ต่อประสบการณ์ที่ได้รับ  ตามความเข้าใจของเด็ก  แล้วก็สื่อออกมาตามที่เข้าใจ

 
กลุ่มที่ 7 วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

                ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget)  ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ของ
เด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา  (Schemata)  เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม    และสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี  2  อย่างคือ1.   การขยายโครงสร้าง (Assimilation)  คือ  การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือรับรู้สิ่งใหม่เข้าไปผสมผสานกับความรู้เดิม
2.  การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation)  คือการที่โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนำเอาความรู้ใหม่ที่ได้ปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อม 

 
กลุ่มที่ 8 พัฒนาการสติปัญญา

                ในวัยทารกสมองจะเจริญขึ้นเรื่อยๆสัมผัสและรับรู้ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ต่อมาเด็กจะเกิดอัตมโนทัศน์ว่าตนเองสำคัญ  สนใจแต่ตนเอง  ความสนใจจะสั้น  ยังไม่รับรู้เรื่องเหตุและผล  อยากรู้อยากเห็น  ในวัยเด็กตอนปลายเริ่มรู้จักการใช้เหตุผล  สนใจและรู้จักคิด  สร้างความคิดรวบยอดในด้านต่างๆได้

 
กลุ่มที่ 9 ภาษาสำหรับเด็ก

                เด็กจะรู้ความหมายในสิ่งที่ตนเองจะพูด และจะสามารถสื่อสารได้ตรงกับความหมายของคำ สามารถรู้จักประโยคต่างๆ และความหมายของประโยคนั้นๆ ได้  เมื่อมีอายุมากขึ้นเด็กจะสามารถ ตีความหมายของประโยค หรือคำพังเพยได้ หรือที่มีความหมายซับซ้อนได้ดีขึ้นตามพัฒนาการของวัย

 
กลุ่มที่ 10 หลักการจัดประสบการณ์ (  ภาษาธรรมชาติ  )

          การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach ) คือ ปรัชญาและระบบความเชื่อซึ่งทำให้เกิดแนวการสอนภาษาโดยองค์รวม ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ( Moss and Noden, eds., 1993; Spodek and Saracho, 1994; Stanek,1993 ) ปรัชญาและระบบความเชื่อนี้มีทฤษฎีพื้นฐานมาจากทฤษฎีว่าด้วยระบบของภาษา ทฤษฎีว่าด้วยภาษา ความคิด และสัญลักษณ์สื่อสาร และทฤษฎีว่าด้วยการอ่านเขียนในระบบภาษา ( บุษบง ตันติวงศ์, 2536 ) การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีแนวคิดและหลักการที่สอดคล้องกับลักษณะและหน้าที่ของภาษา คือ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมายและเหมาะสมกับพัฒนาการด้านการรู้หนังสือของเด็ก