วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


บันทึกอนุทิน  5
วัน/เดือน/ปี 12 ..2556

 ครั้งที่1 เวลาเรียน 13.10-16.40

 เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40

 
เข้าห้องไปอาจารย์ให้วาดสิ่งที่ประทับใจในสมัยเด็ก  หนูวาดกระปุ๊กออมสิน

 (ภาพติดไว้ก่อนนะแล้วจะถ่ายมาให้ดู)

 

1.Phonology

คือระบบเสียงของภาษา

เสียงที่มนุษย์แปลงออกมาแล้วมีความหมาย

หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำของภาษา

                2.Semantic

คือความหมายของภาษาและคำศัพท์

คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย

ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน

                3. Syntax

คือระบบไวยากรณ์

การเรียงรูปประโยค

                4. Pragmatic

คือระบบการนำไปใช้

ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ

               

1.แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner

- สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา

-ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง

John B.  Watson

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

- การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก  เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้  และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม

               

                นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า

-                   ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์

-                   การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม

-                   เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา

-                   เด็กจะสังเกตและเรียนแบบพฤติกรรม เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว

-                   เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้ได้เรียนแบบตัวแบบมากขึ้น

 

2.แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา

Piaget

เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก

Vygotsky

เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

สังคม  บุคคลรอบข้าง  มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

เน้นบทบาทของผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่ควรช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก

                                3.แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมของร่างกาย

Arnold  Gesell

เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา

ความพร้อม  วุฒิภาวะของเด็กแต่ล่ะคนไม่เท่ากัน

เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางด้านร่างกายใช้ภาษาได้เร็ว

เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารพร่อง

 

แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา

-                   เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

-                   นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน

 

Richard  and  Rodger  (1995) ได้แบ่งมุมมองต่อ

ภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม

1.             มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา

-                   นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย

-                   เสียง  ไวยากรณ์  การประกอบคำเป็นวลีหรืประโยค

 

2.             มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา

-                   เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย

-                   การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย

-                   ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรืไวยากรณ์

 

3.             มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์

-                   เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ในสังคม

-                   การแลกเปลี่ยนประสบการณ์

-                   เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา

    

 

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น