วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน 2

 วัน/เดือน/ปี 21 มิ.ย.2556

 ครั้งที่1 เวลาเรียน 13.10-16.40

 เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40

ภาษา  หมายถึง  การสื่อความหมาย

ภาษาเป็นเครื่องมือการแสดงความคิดและความรู้สึก

ความสำคัญของภาษา

1. ภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร

2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

3. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน

4. ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

                ทักษะทางภาษาประกอบด้วย

การฟัง

การพูด

การอ่าน

การเขียน

                ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา  Piaget

การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการทางสติปัญญา

                กระบวนการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 2 กระบวนการ

1. กระบวนการดูดซึม เป็นกระบวนการที่เด็กได้รู้และดูดซึมภาพต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง

2. กระบวนการปรับความเข้าใจเดิมให้เข้าสิ่งแวดล้อมใหม่ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการดูดซึม โดยปรับความรู้เดิมที่มีและปรับความเข้าใจจะเกิดความสมดุล( Equilibrium) กลายเป็นความคิดรวบยอดของสมอง

Piaget  ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา

1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส  แรกเกิด – 2 ขวบ เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ  เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม  บุคคลรอบตัวเด็กสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนสนใจภาษา

2. ขั้นเตรียมการความคิดอย่างมีเหตุผล

2.1 อายุ 24 ปี  เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสารเล่นบทบาทสมมุติ  การเล่าเรื่องแสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า  บอกสื่อสิ่งต่างๆ รอบตัว  ภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  และแสดงออกโดยคิดว่าผู้อื่นคิดเหเหมือนตน

2.2  อายุ 4 -7 ปี ใช้ภาษาสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้าง ใช้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง  ยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  รู้จักสร้างมโนทัศน์  โดยอาศัยการจัดกลุ่มของวัตถุ

3. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม 7-11 ปี เด็กสามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้เหตุผลเป็นรูปธรรม

4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม 11-15 ปี  เด็กคิดด้วยเหตูผลอย่างเป็นระบบ  ให้เหตุผลการแก้ปัญหา  เข้าใจกฏเกณฑ์ของสังคม

                พัฒนาการภาษาของเด็ก

                เด็กค่อยๆสร้างความเข้าใจเป็นลำดับขั้น  ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจหรือยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง  ควรมองว่านั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก

                จิตวิทยาการเรียนรู้

1.             ความพร้อมของเด็ก

- วัย  ความสามารถ  ประสบการณ์ของเด็ก

       2.   ความแตกต่างระหว่างบุคคล

                - อิทธิพลทางพันธุกรรม

                - อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม

               3.  การจำ

     - การเห็นบ่อย

     - การทบทวนเป็นราย

     - การจัดเป็นหมวดหมู่

     -  การใช้ความสัมผัส

4.  การให้แรงเสริม

    - แรงเสริมทางบวก

    - แรงเสริมทางลบ

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น