วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน  4

 
วัน/เดือน/ปี 5 ..2556

 
ครั้งที่1 เวลาเรียน 13.10-16.40

 
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40

วันนี้ให้แต่งล่ะกลุ่มออกมานำเสนองาน

 
กลุ่มที่ 1 ความหมายของภาษา 

ภาษา  หมายถึง  สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือ สื่อความคิด  ความรู้  ความรู้สึก

                ความสำคัญของภาษา  เป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจ

 
กลุ่มที่ 2 แนวคิดทางภาษา

 Chomsk  ภาษามีลักษณะพิเศษจะส่งการเรียนรู้ คือ  แรงจูงใจ

                เพียเจ  เกิดการเรียนรู้ได้โดยผ่านการเล่น

                จอห์น  ดิวอี้  การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากประสบการณ์ตรง  ลงมือเอง

                ไวกอตสกี้  เรียนรู้ภาษา สิ่งแวดล้อม  กิจกรรม  การลงมือ

                ออลลิเดย์  สภาพแวดล้อมรอบๆ  จะส่งผลต่อการพัฒนาการทางภาษา

                กู๊ดแมน  เด็กลงมือปฏิบัติจริง  ใช้ภาษาสำหรับการร่วมกิจกรรมทำให้เกิดการเรียนรู้และจะพัฒนาภาษา

 

กลุ่มที่ 3 เด็กแรกเกิด 0-2 ขวบ

                ภาไม่ใช่การท่องหรือเป็นคำศัพท์อย่างเดียว  แต่หมายถึงการสื่อสารกับคนรอบข้างซึ่งสำคัญมากมีปฏิกิริยาโต้ตอบ ซึ่งเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิด – 2 ปี  อาจพูดไม่ค่อยได้  ซึ่งเราต้องมีการสื่อสารบ่อยๆ เขาจะจดจำแล้วเกิดประสบการณ์

 
กลุ่มที่ 4  พัฒนาการด้านสติปัญญา 2 4 ปี

                ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว  ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกาย  ให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ  เด็กสามารถแก้ไขปัญหาได้แม้ไม่สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้

 
กลุ่มที่ 5 พัฒนาการเด็ก 4 -6 ปี

                เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่มีการเรียนรู้และการสังเกตจะดีมาก  เด็กสามารถบอกชื่อได้  ชอบถามว่าทำไม  อย่างไร  แต่จะเข้าใจคำถามง่ายๆ  ชอบเล่าเรื่องราวต่างๆ  และมักสนใจในคำพูดของผู้ใหญ่

 
กลุ่มที่ 6 แนวคิดทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้

                เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่  เด็กกล้าที่จะตอบคำถาม  เด็กรู้จักเรียนแบบสิ่งที่ชอบ  เรียนรู้ต่อประสบการณ์ที่ได้รับ  ตามความเข้าใจของเด็ก  แล้วก็สื่อออกมาตามที่เข้าใจ

 
กลุ่มที่ 7 วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

                ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget)  ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ของ
เด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา  (Schemata)  เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม    และสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี  2  อย่างคือ1.   การขยายโครงสร้าง (Assimilation)  คือ  การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือรับรู้สิ่งใหม่เข้าไปผสมผสานกับความรู้เดิม
2.  การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation)  คือการที่โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนำเอาความรู้ใหม่ที่ได้ปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อม 

 
กลุ่มที่ 8 พัฒนาการสติปัญญา

                ในวัยทารกสมองจะเจริญขึ้นเรื่อยๆสัมผัสและรับรู้ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ต่อมาเด็กจะเกิดอัตมโนทัศน์ว่าตนเองสำคัญ  สนใจแต่ตนเอง  ความสนใจจะสั้น  ยังไม่รับรู้เรื่องเหตุและผล  อยากรู้อยากเห็น  ในวัยเด็กตอนปลายเริ่มรู้จักการใช้เหตุผล  สนใจและรู้จักคิด  สร้างความคิดรวบยอดในด้านต่างๆได้

 
กลุ่มที่ 9 ภาษาสำหรับเด็ก

                เด็กจะรู้ความหมายในสิ่งที่ตนเองจะพูด และจะสามารถสื่อสารได้ตรงกับความหมายของคำ สามารถรู้จักประโยคต่างๆ และความหมายของประโยคนั้นๆ ได้  เมื่อมีอายุมากขึ้นเด็กจะสามารถ ตีความหมายของประโยค หรือคำพังเพยได้ หรือที่มีความหมายซับซ้อนได้ดีขึ้นตามพัฒนาการของวัย

 
กลุ่มที่ 10 หลักการจัดประสบการณ์ (  ภาษาธรรมชาติ  )

          การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach ) คือ ปรัชญาและระบบความเชื่อซึ่งทำให้เกิดแนวการสอนภาษาโดยองค์รวม ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ( Moss and Noden, eds., 1993; Spodek and Saracho, 1994; Stanek,1993 ) ปรัชญาและระบบความเชื่อนี้มีทฤษฎีพื้นฐานมาจากทฤษฎีว่าด้วยระบบของภาษา ทฤษฎีว่าด้วยภาษา ความคิด และสัญลักษณ์สื่อสาร และทฤษฎีว่าด้วยการอ่านเขียนในระบบภาษา ( บุษบง ตันติวงศ์, 2536 ) การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีแนวคิดและหลักการที่สอดคล้องกับลักษณะและหน้าที่ของภาษา คือ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมายและเหมาะสมกับพัฒนาการด้านการรู้หนังสือของเด็ก

               

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น