วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน  6

 
วัน/เดือน/ปี 19 ..2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10-16.40
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40

การจัดประสบการทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา
ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในการสร้างหนังสือสำหรับเด็ก การอ่านคำกลอนให้เด็กฟังเป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมนำมาใช้กับเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เพราะคำกลอนเป็นสื่อที่เด็กคุ้นเคย ให้ความสนุกสนานและความรู้ เด็กสามารถเก็บความจากเรื่องที่ฟังได้สมควรแก่วัย
                ธรรมชาติของเด็กปมวัย
         ๑.        เด็กปฐมวัยไม่ชอบอยู่นิ่ง มีความต้องการและความรู้สึกเหมือนผู้ใหญ่
         .    มีความสนใจเพียงระยะสั้นๆเท่านั้น
  ๓.     มีความเป็นตัวของตัวเอง
  ๔.     แสดงออกทางอารมณ์เปิดเผย รู้สึกอย่างไรก็แสดงออกมาอย่างนั้น
  ๕.     สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
  ๖.      เจ็บป่วยง่าย                                                                
  ๗.     จดจำในทุกสิ่งที่เห็นและกล้าแสดงออก

       การสอนภาษาธรรมชาติ

การที่เด็กได้เรียนรู้การใช้ภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน เขียนไปตามธรรมชาติ อย่างมีความหมาย สอดคล้องเหมาะสมกับวัย โดยไม่แยกว่าต้องอ่านก่อน หรือเขียนก่อน แต่จะเน้นให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง เช่น อ่านนิทาน เล่าเรื่องราว ฟังนิทานที่ครูหรือเพื่อนเล่า เขียนคำที่ตนสนใจจากเรื่องที่ได้อ่านหรือได้ฟัง


วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


บันทึกอนุทิน  5
วัน/เดือน/ปี 12 ..2556

 ครั้งที่1 เวลาเรียน 13.10-16.40

 เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40

 
เข้าห้องไปอาจารย์ให้วาดสิ่งที่ประทับใจในสมัยเด็ก  หนูวาดกระปุ๊กออมสิน

 (ภาพติดไว้ก่อนนะแล้วจะถ่ายมาให้ดู)

 

1.Phonology

คือระบบเสียงของภาษา

เสียงที่มนุษย์แปลงออกมาแล้วมีความหมาย

หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำของภาษา

                2.Semantic

คือความหมายของภาษาและคำศัพท์

คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย

ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน

                3. Syntax

คือระบบไวยากรณ์

การเรียงรูปประโยค

                4. Pragmatic

คือระบบการนำไปใช้

ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ

               

1.แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner

- สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา

-ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง

John B.  Watson

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

- การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก  เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้  และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม

               

                นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า

-                   ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์

-                   การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม

-                   เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา

-                   เด็กจะสังเกตและเรียนแบบพฤติกรรม เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว

-                   เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้ได้เรียนแบบตัวแบบมากขึ้น

 

2.แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา

Piaget

เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก

Vygotsky

เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

สังคม  บุคคลรอบข้าง  มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

เน้นบทบาทของผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่ควรช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก

                                3.แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมของร่างกาย

Arnold  Gesell

เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา

ความพร้อม  วุฒิภาวะของเด็กแต่ล่ะคนไม่เท่ากัน

เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางด้านร่างกายใช้ภาษาได้เร็ว

เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารพร่อง

 

แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา

-                   เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

-                   นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน

 

Richard  and  Rodger  (1995) ได้แบ่งมุมมองต่อ

ภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม

1.             มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา

-                   นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย

-                   เสียง  ไวยากรณ์  การประกอบคำเป็นวลีหรืประโยค

 

2.             มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา

-                   เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย

-                   การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย

-                   ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรืไวยากรณ์

 

3.             มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์

-                   เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ในสังคม

-                   การแลกเปลี่ยนประสบการณ์

-                   เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา

    

 

 

 

 

 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน  4

 
วัน/เดือน/ปี 5 ..2556

 
ครั้งที่1 เวลาเรียน 13.10-16.40

 
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40

วันนี้ให้แต่งล่ะกลุ่มออกมานำเสนองาน

 
กลุ่มที่ 1 ความหมายของภาษา 

ภาษา  หมายถึง  สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือ สื่อความคิด  ความรู้  ความรู้สึก

                ความสำคัญของภาษา  เป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจ

 
กลุ่มที่ 2 แนวคิดทางภาษา

 Chomsk  ภาษามีลักษณะพิเศษจะส่งการเรียนรู้ คือ  แรงจูงใจ

                เพียเจ  เกิดการเรียนรู้ได้โดยผ่านการเล่น

                จอห์น  ดิวอี้  การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากประสบการณ์ตรง  ลงมือเอง

                ไวกอตสกี้  เรียนรู้ภาษา สิ่งแวดล้อม  กิจกรรม  การลงมือ

                ออลลิเดย์  สภาพแวดล้อมรอบๆ  จะส่งผลต่อการพัฒนาการทางภาษา

                กู๊ดแมน  เด็กลงมือปฏิบัติจริง  ใช้ภาษาสำหรับการร่วมกิจกรรมทำให้เกิดการเรียนรู้และจะพัฒนาภาษา

 

กลุ่มที่ 3 เด็กแรกเกิด 0-2 ขวบ

                ภาไม่ใช่การท่องหรือเป็นคำศัพท์อย่างเดียว  แต่หมายถึงการสื่อสารกับคนรอบข้างซึ่งสำคัญมากมีปฏิกิริยาโต้ตอบ ซึ่งเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิด – 2 ปี  อาจพูดไม่ค่อยได้  ซึ่งเราต้องมีการสื่อสารบ่อยๆ เขาจะจดจำแล้วเกิดประสบการณ์

 
กลุ่มที่ 4  พัฒนาการด้านสติปัญญา 2 4 ปี

                ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว  ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกาย  ให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ  เด็กสามารถแก้ไขปัญหาได้แม้ไม่สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้

 
กลุ่มที่ 5 พัฒนาการเด็ก 4 -6 ปี

                เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่มีการเรียนรู้และการสังเกตจะดีมาก  เด็กสามารถบอกชื่อได้  ชอบถามว่าทำไม  อย่างไร  แต่จะเข้าใจคำถามง่ายๆ  ชอบเล่าเรื่องราวต่างๆ  และมักสนใจในคำพูดของผู้ใหญ่

 
กลุ่มที่ 6 แนวคิดทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้

                เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่  เด็กกล้าที่จะตอบคำถาม  เด็กรู้จักเรียนแบบสิ่งที่ชอบ  เรียนรู้ต่อประสบการณ์ที่ได้รับ  ตามความเข้าใจของเด็ก  แล้วก็สื่อออกมาตามที่เข้าใจ

 
กลุ่มที่ 7 วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

                ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget)  ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ของ
เด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา  (Schemata)  เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม    และสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี  2  อย่างคือ1.   การขยายโครงสร้าง (Assimilation)  คือ  การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือรับรู้สิ่งใหม่เข้าไปผสมผสานกับความรู้เดิม
2.  การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation)  คือการที่โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนำเอาความรู้ใหม่ที่ได้ปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อม 

 
กลุ่มที่ 8 พัฒนาการสติปัญญา

                ในวัยทารกสมองจะเจริญขึ้นเรื่อยๆสัมผัสและรับรู้ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ต่อมาเด็กจะเกิดอัตมโนทัศน์ว่าตนเองสำคัญ  สนใจแต่ตนเอง  ความสนใจจะสั้น  ยังไม่รับรู้เรื่องเหตุและผล  อยากรู้อยากเห็น  ในวัยเด็กตอนปลายเริ่มรู้จักการใช้เหตุผล  สนใจและรู้จักคิด  สร้างความคิดรวบยอดในด้านต่างๆได้

 
กลุ่มที่ 9 ภาษาสำหรับเด็ก

                เด็กจะรู้ความหมายในสิ่งที่ตนเองจะพูด และจะสามารถสื่อสารได้ตรงกับความหมายของคำ สามารถรู้จักประโยคต่างๆ และความหมายของประโยคนั้นๆ ได้  เมื่อมีอายุมากขึ้นเด็กจะสามารถ ตีความหมายของประโยค หรือคำพังเพยได้ หรือที่มีความหมายซับซ้อนได้ดีขึ้นตามพัฒนาการของวัย

 
กลุ่มที่ 10 หลักการจัดประสบการณ์ (  ภาษาธรรมชาติ  )

          การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach ) คือ ปรัชญาและระบบความเชื่อซึ่งทำให้เกิดแนวการสอนภาษาโดยองค์รวม ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ( Moss and Noden, eds., 1993; Spodek and Saracho, 1994; Stanek,1993 ) ปรัชญาและระบบความเชื่อนี้มีทฤษฎีพื้นฐานมาจากทฤษฎีว่าด้วยระบบของภาษา ทฤษฎีว่าด้วยภาษา ความคิด และสัญลักษณ์สื่อสาร และทฤษฎีว่าด้วยการอ่านเขียนในระบบภาษา ( บุษบง ตันติวงศ์, 2536 ) การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีแนวคิดและหลักการที่สอดคล้องกับลักษณะและหน้าที่ของภาษา คือ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมายและเหมาะสมกับพัฒนาการด้านการรู้หนังสือของเด็ก

               

 

 

 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3



บันทึกอนุทิน  3

 วัน/เดือน/ปี 28  มิ.ย.2556
**หมายเหตู**

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน  เพราะมีกิจกรรมรับร้องของมหาวิทยาลัย

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน 2

 วัน/เดือน/ปี 21 มิ.ย.2556

 ครั้งที่1 เวลาเรียน 13.10-16.40

 เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40

ภาษา  หมายถึง  การสื่อความหมาย

ภาษาเป็นเครื่องมือการแสดงความคิดและความรู้สึก

ความสำคัญของภาษา

1. ภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร

2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

3. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน

4. ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

                ทักษะทางภาษาประกอบด้วย

การฟัง

การพูด

การอ่าน

การเขียน

                ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา  Piaget

การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการทางสติปัญญา

                กระบวนการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 2 กระบวนการ

1. กระบวนการดูดซึม เป็นกระบวนการที่เด็กได้รู้และดูดซึมภาพต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง

2. กระบวนการปรับความเข้าใจเดิมให้เข้าสิ่งแวดล้อมใหม่ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการดูดซึม โดยปรับความรู้เดิมที่มีและปรับความเข้าใจจะเกิดความสมดุล( Equilibrium) กลายเป็นความคิดรวบยอดของสมอง

Piaget  ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา

1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส  แรกเกิด – 2 ขวบ เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ  เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม  บุคคลรอบตัวเด็กสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนสนใจภาษา

2. ขั้นเตรียมการความคิดอย่างมีเหตุผล

2.1 อายุ 24 ปี  เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสารเล่นบทบาทสมมุติ  การเล่าเรื่องแสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า  บอกสื่อสิ่งต่างๆ รอบตัว  ภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  และแสดงออกโดยคิดว่าผู้อื่นคิดเหเหมือนตน

2.2  อายุ 4 -7 ปี ใช้ภาษาสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้าง ใช้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง  ยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  รู้จักสร้างมโนทัศน์  โดยอาศัยการจัดกลุ่มของวัตถุ

3. ขั้นการคิดแบบรูปธรรม 7-11 ปี เด็กสามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้เหตุผลเป็นรูปธรรม

4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม 11-15 ปี  เด็กคิดด้วยเหตูผลอย่างเป็นระบบ  ให้เหตุผลการแก้ปัญหา  เข้าใจกฏเกณฑ์ของสังคม

                พัฒนาการภาษาของเด็ก

                เด็กค่อยๆสร้างความเข้าใจเป็นลำดับขั้น  ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจหรือยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง  ควรมองว่านั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก

                จิตวิทยาการเรียนรู้

1.             ความพร้อมของเด็ก

- วัย  ความสามารถ  ประสบการณ์ของเด็ก

       2.   ความแตกต่างระหว่างบุคคล

                - อิทธิพลทางพันธุกรรม

                - อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม

               3.  การจำ

     - การเห็นบ่อย

     - การทบทวนเป็นราย

     - การจัดเป็นหมวดหมู่

     -  การใช้ความสัมผัส

4.  การให้แรงเสริม

    - แรงเสริมทางบวก

    - แรงเสริมทางลบ